ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน...



เจอภาพนี้ใน feed 
ดูแล้วก็ อืมมมม..........................นะ
แต่ที่มาตกใจเพราะได้เลื่อนลงมาอ่านคอมเม้นท์ด้านล่าง ที่มีคนกดไลค์ให้ถึง 73 ไลค์ 


 Tee Chinku :
 "คน เกาหลี คิดเสมอว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ต่อให้คุณเป็นคนดีมีน้ำใจ แต่งานของคุณออกมาไม่ดีตามที่เขาต้องการ มันก็ไม่มีความหมายอะไร ฉะนั้นจะทำยังไงก็ได้ให้งานของคุณออกมาดี นี้แหล่ะชีวิตที่เกาหลี เจอทุกวัน"

น่ากลัวนะสำหรับความคิดแบบนี้.....การเอาคำสุภาษิตดีๆมาตีความแบบผิดๆ  
"ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" นั้นถูกแล้ว 
แต่ผลกับความสำเร็จเป็นคนละเรื่องกันเลยนะ.....

กรณีนี้คนเขียนคอมเม้นท์นี้น่าจะหมายความว่า "คนเกาหลีคิดเสมอว่า ค่าของคนอยู่ที่ความสำเร็จ ต่อให้คุณฝึกซ้อมอย่างหนักมาแค่ไหนถ้าไม่ชนะคุณก็ไม่มีความหมายอะไร ฉะนั้นจะทำยังไงก็ได้ให้ชนะ นี่แหละชีวิตที่เกาหลีเจอทุกวัน"

เขียนแบบนี้น่าจะถูกกว่า.....

ถ้าคนเกาหลีใต้จะหวังว่าทีมชาติของเค้าจะต้องได้แชมป์บอลโลก หรือเข้ารอบชิง และนักกีฬาจะต้องทำยังไงก็ได้ให้ไปถึงจุดนั้นถึงจะเรียกว่าดี ประสบผล ถ้าทำไม่ได้คือเฟล ล้มเหลวสมควรโดนด่า คงเป็นการตัดสินที่ไม่อยู่ในพื้นฐานของความจริง และไม่ยุติธรรมเลยแม้แต่น้อย

การที่ทีมชาติในเอเชียได้เข้าไปแข่งขันในฟุตบอลโลกก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วนะ.... กีฬาที่มีการปะทะแบบนี้ สรีระคือจุดได้เปรียบ ลองดูก็ได้มีกีฬาที่ต้องปะทะชนิดใดบ้างที่คนเอเชียชนะฝรั่ง....คำตอบคือไม่มี....
นอกจากจะเป็นกีฬาประเภทมีเน็ตขึงกั้น ผู้เล่นไม่โดนตัวกันและไม่ได้อาศัยรูปร่างสูงใหญ่เป็นจุดได้เปรียบเท่านั้นแหละที่คนเอเชียจะสู้เขาได้ เช่น แบดมินตัน ปิงปอง ยิมนาสติก (กีฬาพวกนี้เอเชียเราครองแชมป์ตลอดฝรั่งไม่เคยได้แอ้ม)  
แต่ถ้าเป็นวอลเล่ย์ บาส ว่ายน้ำ ฟุตบอลฯลฯ คนเอเชียตัวเล็กๆ จะไปสู้อะไรกับชาวยุโรปตัวใหญ่ๆ ได้ นี่ยังมิพักไปพูดถึงความจัดเจนด้านการเล่นเพราะมันเป็นกีฬาที่พวกเค้าเล่นกันมานานก่อนเรามาก  มีลีคอาชีพมาก็นานแล้ว ความสามารถเฉพาะตัวก็สูงกว่ามากด้วย เรียกว่าเค้าพัฒนาไปไกลแล้ว บวกกับได้เปรียบเรื่องรูปร่างด้วย...

การมาหวังว่าจะได้เข้ารอบลึก หรือได้แชมป์นี่สมควรจะด่าคนที่กล้าหวังมากกว่าจะมาด่านักกีฬา......

เราไม่รู้ว่าคนเกาหลีใต้หวังอะไร ถึงไหน... แต่อ่านแล้วกังวลใจถึงวัยรุ่นไทยโดยเฉพาะพวกที่ไปกระหน่ำกดไลค์โดยไม่คิดให้ถ้วนถี่เสียก่อน อาจไม่รู้ หรือกำลังเคว้งคว้างหลงทิศหลงทาง เจอคำคม ค่านิยมอะไรที่มันดูแล้วจะเข้าท่าดีก็เออออตามไป  โดยเฉพาะตรงที่ "จะทำยังไงก็ได้ให้ไปถึงจุดหมาย"  คือการให้น้ำหนักกับผลปลายทางมากกว่าวิธี หรือสิ่งที่กำลังทำ....  มันเป็นเรื่องน่ากลัวนะถ้าคนในประเทศลุกขึ้นมาสนใจแต่ผลโดยไม่คำนึงถึงวิธีว่าจะเลวร้ายสกปรกแค่ไหน

เมื่อ เร็วๆนี้อ่านเจอมาว่า Adam levine พูดถึงวัยรุ่นสมัยนี้ว่า "พวกเขาอยากดัง แต่ไม่สนใจที่จะอยากมีความสามารถ"  คือแค่อยากเป็นคนดัง อยากเป็นเซเลบริตี้ แต่ไม่สนใจที่จะฝึกฝนให้ตัวเองมีความสามารถพอทีี่จะดังได้....

นี่คือตรรกะอันบิดเบี้ยวที่กำลังครอบงำคนยุคสมัยนี้.....

เลื่อนมาอ่านคอมเม้นท์อื่นๆ มีบางคนเข้ามาเขียนว่า "คนญี่ปุ่นเค้ามีวินัย ให้เกียรติและชาตินิยม ก็เหมือนคนไทยนั่นแหละ"  ..........เป็นอย่างนั้นไป.....

เราคิดว่า คนญี่ปุ่นหรือคนไทยก็ไม่ได้ชาตินิยมอะไรนักหรอก แต่เราคิดลึกซึ้งกว่านั้น เพราะพิจารณารอบด้านแล้วว่านักกีฬาเค้าก็ทำเต็มที่ในส่วนของเค้าแล้ว ใครบ้างไม่อยากชนะ ต้องทุ่มเทเวลาฝึกซ้อมมาแค่ไหนเพื่อรอวันนี้ คิดว่าเค้าแพ้กลับมาแล้วเค้าไม่เสียใจหรือที่ไม่สามารถนำชื่อเสียงของประเทศไปประกาศให้ก้องโลกได้อย่างใจหวัง สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ชาวญี่ปุ่นเค้าชื่นชมในนักกีฬาของเค้า และต้อนรับกลับบ้านอย่างฮีไร่แม้ว่าจะแพ้กลับมา 

คนมีปัญญาย่อมรู้ว่า แพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือการได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้เรียนรู้น้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ได้ทำหน้าที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ  กว่า20-30ทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน มีเพียงทีมเดียวเท่านั้นที่จะได้เป็นผู้ชนะ ที่เหลือจะเป็นผู้แพ้ที่ได้ฝึกฝนตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ เราเห็นกันมานักต่อนักแล้ว นักกีฬาเก่งแต่จิตใจเข้มแข๊งไม่พอ บอลแพ้คนไม่แพ้ หรือระเบิดโทสะทำฟาว์ลอย่างรุนแรงจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่สามารถรักษาความมั่นคงทางจิตใจไว้ได้...นี่ต่างหากคือโจทย์ที่ต้องทำให้สำเร็จสำหรับคนเป็นนักกีฬา ไม่ใช่ผลแพ้ชนะ

คนไทยไม่ถึงขนาดปาของ หรือโห่ด่าต้อนรับนักกีฬาที่แพ้กลับมาแบบคนเกาหลีใต้ทำกัน.....
....สำหรับคนไทยแล้วเราถือกันว่ามันน่าสงสารและใจร้ายเกินไปที่จะทำอย่างนั้น.... 
....เราทำแค่ไม่สนใจคนแพ้.......เลยยยยยยยยย....
....สนใจแต่คนชนะ.....เท่านั้นแหละ....
................
...ซอฟท์กว่าเกาหลีใต้มั้ย ...คิดว่าซอฟท์กว่า 
...แต่ดีกว่ามั้ย...อันนี้ก็ไม่แน่ใจ.....


    












ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม